วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

วงจรไฟฟ้า ม.4


วงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย  ประกอบด้วย  แหล่งกำเนิดไฟฟ้า  ตัวนำไฟฟ้า  และอุปกรณ์/เครื่องใช้ไฟฟ้า   การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายที่ถูกวิธี  ทำให้หลอดไฟฟ้าสว่าง  แต่ถ้าต่อวงจรไฟฟ้าไม่ถูกวิธี  หลอดไฟฟ้าจะไม่สว่าง
                วงจรปิด  คือ วงจรไฟฟ้าที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านครบวงจร


                                        
                วงจรเปิด คือ วงจรไฟฟ้าที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน  กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไม่ครบวงจร


                                               
                ตัวนำไฟฟ้า คือ  สารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย  ส่วนมากเป็นโลหะ  เช่น  เงิน  ทองแดง  เป็นต้น  
                ฉนวนไฟฟ้า คือ  สารที่ไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน  เช่น  ยาง  ผ้า  กระเบื้อง  พลาสติก เป็นต้น   
                แอมมิเตอร์ เป็น เครื่องมือสำเร็จรูปในการวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร  มีหน่วยเป็น  แอมแปร์ (A)  หรือ มิลลิแอมแปร์ (mA) 
            การต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
                1. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม เป็นการนำเซลล์ไฟฟ้ามาต่อในวงจรไฟฟ้าโดยให้ขั้วบวกของก้อนแรกต่อเข้ากับขั้วลบของก้อนที่ 2 เรียงกันไป

                2. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนาน เป็นการนำเซลล์ไฟฟ้ามาวางขนานกัน โดยขั้วบวกแต่ละก้อนต่อเข้าด้วยกันและขั้วลบแต่ละก้อนต่อเข้าด้วยกันแล้วจึงต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า
            3. วงจรผสมหมายถึง การนำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาต่อวงจรไฟฟ้าโดยการต่อรวมกันระหว่างวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมกับวงจรไฟฟ้าแบบขนาน

หน่วยวัดทางไฟฟ้า
1. แรงดันไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลต์ (Volt)ใช้ตัวย่อว่า V แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ หมายถึง แรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลผ่านเข้าไปในความต้านทาน 1 โอห์ม 
2. กระแสไฟฟ้า เราทราบแล้วว่าการไหลของอิเล็กตรอนในตัวนำไฟฟ้านั้นเรียกว่า กระแสไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ ใช้ตัวย่อ ว่า (A) กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์คือกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าสองตัวที่วางขนาดกันมีระยะห่างกัน 1 เมตร แล้ว ทำให้เกิดแรงแต่ละตัวนำเท่ากับ 
คำอธิบาย: http://www.elecnet.chandra.ac.th/learn/courses/ELTC1203/electricbasic/unit21.jpg นิวตันต่อเมตร 
3. ความต้านทานไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึง การต้านทานการไหลของไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยวัดเป็นโอห์ม ใช้ตัวย่อว่า 
คำอธิบาย: http://www.elecnet.chandra.ac.th/learn/courses/ELTC1203/electricbasic/ohms.jpgความ ต้านทานไฟฟ้า 1 โอห์ม คือ ความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ที่ไหล ผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วทำให้เกิดกำลังไฟฟ้า 1 วัตต์ 
4. กำลังไฟฟ้า / POWER / พาวเวอร์ P คือ แรง ดันไฟฟ้า X กระแสไฟฟ้า P = E (V) X I(A) มีหน่วยเป็นวัตต์ (W)

กำลังไฟฟ้านำไปใช้งานลักษณะ

1. เป็นความต้องการทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ที่ทำงานได้ เช่น หลอดไฟฟ้า ขนาด 3V / 2A แสดงว่าหลอดไฟฟ้านี้ต้องการกำลังไฟฟ้าคือ 3V x 2A = 6 W (วัตต์)
2.เป็นอัตราการทนแรงดันไฟและค่ากระแสไฟฟ้าของอุปกรณ์ เช่น ตัวต้านทานมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 0.5 A และเกิดแรงดันไฟฟ้าตกคร่อม 4 V  แสดงว่าเกิดกำลังไฟฟ้าขึ้นคือ 4V x 0.5 A =2W (วัตต์)
3. เป็นอัตราการขยายแรงดันและกระแสไฟฟ้าของเครื่องขยายเสียง เช่น เครื่อง ขยายขนาด 50W, 100W, 200W


ระบบหล่อลื่น ม.6/2


ระบบหล่อลื่น
(Lubricating System)
หน้าที่ของระบบหล่อลื่น
หน้าที่ในการหล่อลื่น
หน้าที่ในการระบายความร้อน
หน้าที่ในการป้องกันสนิมและกัดกร่อน
หน้าที่ในการป้องกันการรั่วของกำลังอัด
หน้าที่ในการรักษาความสะอาด
การทำงานของระบบหล่อลื่น
- หล่อลื่นแบบวิดสาด (Splash system) เป็นการหล่อลื่นเครื่องยนต์ในอดีต โดยที่ฝาครอบแบริ่งก้านสูบจะมีช้อน (dipper) ติดอยู่ ช้อนจะทำหน้าที่วิดน้ำมันเครื่อง ปัจจุบันใช้ในเครื่องยนต์ขนาดเล็ก
- หล่อลื่นแบบใช้กำลังดัน (Pressure system) โดยปั้มน้ำมันเครื่อง (oil pump) จ่ายแรงดันให้น้ำมันส่งผ่านไปตามท่อทางเดิน
- หล่อลื่นแบบผสมวิดสาดและกำลังดัน (Combination splash and pressure system) ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เพราะอุปกรณ์สลับซับซ้อนมาก

ระบบหล่อลื่นจะสามารถทำงานได้อย่างดีเยี่ยม และมีประสิทธิภาพนั้น ย่อมประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ หลายส่วนด้วยกัน ดังนี้
1. อ่างน้ำมันเครื่อง (Oil Pan) ทำหน้าที่ ในการเก็บน้ำมันหล่อลื่น โดยทั่วไปอ่างน้ำมันเครื่องอยู่ส่วนล่างสุดของเครื่องยนต์
2. ปั้มน้ำมันหล่อลื่น (Oil Pump)ทำหน้าที่ ดูดและส่งน้ำมันหล่อลื่นไปยังส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ ปั้มน้ำมันจะถูกขับโดยกำลังของเครื่องยนต์
3. ท่อส่งน้ำมัน ปกติระบบท่อส่งน้ำมันเพื่อไปหล่อลื่นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ จะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ โดยการเจาะเป็นรูสำหรับให้น้ำมันส่งไปได้
4. กรองน้ำมันหล่อลื่น (Oil Filter) ทำหน้าที่ในการดักเศษ ต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำงานของเครื่องยนต์ เพื่อทำให้น้ำมันก่อนถูกส่งไปหล่อลื่นมีความสะอาด

ระบบระบายความร้อน ม.6/2


ระบบระบายความร้อน
(Cooling System)
ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์มีไว้เพื่อรักษาอุณหภูมิของเครื่องยนต์ไว้ที่ อุณหภูมิทำงานเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถทำงานได้ตลอดเวลาต่อเนื่องขณะเกิดการเผาไหม้ภายในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ความร้อนจะกระจายไปยังชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ ฉะนั้นจำเป็นจะต้องระบายความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นให้มีอุณหภูมิลดลงและรักษาอุณหภูมินั้นไม่ให้ร้อนเกิดไปและต่ำเกิดไปเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้มีประสิทธิภาพและต่อเนื่องตลอดเวลาของการทำงาน
ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์เล็กแบ่งเป็น    3   ระบบ
1.    ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
           ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศแบบนี้มักจะใช้กับเครื่องยนต์เบนซินซึ่งตัวของเครื่องยนต์จะออกแบบเป็นครีบระบายความร้อนเพื่อให้อากาศเกิดการหมุนวนภายในครีบระบายความร้อนและพัดพาความร้อนออกไปได้มากที่สุดฉะนั้นระบบนี้จะต้องประกอบด้วยอุปกรณ์เช่น พัดลมเป็นตัวผลิตกระแสลมให้เกิดขึ้น    กระบังลมเป็นตัวที่รวบรวมกระแสลมไม่ให้กระจายไปทิศทางอื่นซึ่งต้องบังคับให้ไหลไปยังครีบระบายความร้อนให้มาก


2.    ระบบระบายความร้อนแบบหม้อน้ำ
           ระบบระบายความร้อนแบบหม้อน้ำส่วนมากมักนิยมใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลระบบจะมีส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้ เช่น  หม้อน้ำเป็นตัวเก็บรวบรวมน้ำไว้เพื่อระบายความร้อนซึ่งถูกออกแบบคล้ายกับรังผึ้งเพื่อให้น้ำระบายความร้อนออกมาได้มากที่สุดขณะพัดลมเป่าทำงาน  

3.    ระบบระบายความร้อนแบบอ่างน้ำ
            ระบบระบายความร้อนแบบอ่างน้ำส่วนมากมักนิยมใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลระบบจะมีส่วนประกอบเช่น อ่างน้ำซึ่งเป็นสิ่งสำคัญถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงสามารถเก็บน้ำเพื่อระบายความร้อนของเครื่องยนต์

ช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็ก ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ม.6/2


ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
Fuel System
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นระบบที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันเข้าสู่เครื่องยนต์ ประกอบด้วย
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (gasoline fuel system) เป็นระบบการป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนซึ่งประกอบด้วย
- ถังน้ำมัน (fuel tank)
- ปั้มน้ำมัน (fuel pump)
- กรองน้ำมันเชื้อเพลิง
- ท่อทาง
- คาร์บูเรเตอร์ ( carburetor) หรือหัวฉีด(injector) ถ้าเป็นระบบหัวฉีด
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล (diesel fuel system) เป็นระบบน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลซึ่งประกอบด้วย
- ถังน้ำมัน
- ปั้มน้ำมัน
- กรองน้ำมัน
- ปั้มหัวฉีด หรือปั๊มแรงดันสูง
- หัวฉีด
น้ำมันเบนซิน เมื่อผ่านกระบวนการกลั่นจะต้องปรับปรุงให้มีคุณภาพป้องกันการน๊อคด้วยการผ่านกระบวนการแปรรูปน้ำมัน ซึ่งเรียนว่า ค่าออกเทน ( octane number) เป็นคุณภาพของน้ำมันเบนซินในการต่อต้านการน็อคจากการลุกไหม้ขึ้นเองของน้ำมันเบนซิน ออกเทนที่มีค่าสูง ๆ นั้น ยิ่งค่าสูงเท่าไหร่การเผาไหม้กลับยิ่งช้าลงเท่านั้น
น้ำมันดีเซล หมายถึงน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลบางคนเรียกว่าน้ำมันโซล่า ในวงการน้ำมันเรียกว่า แก๊สออยล์ (Gas oil) การต้านทานการน็อค ตัวควบคุมการน็อคเครื่องยนต์ดีเซลได้แก่ ซีเทนนัมเบอร์ (CN) น้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีซีเทนนัมเบอร์สูงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการน็อค
การจ่ายน้ำมันจากถังน้ำมันเชื้อเพลิงให้เข้าสู่ระบบโดยอาศัย 2 วิธี คือ
1.        อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก โดยจะวางถังน้ำมันอยู่ระดับคาร์บูเรเตอร์หรือปั๊มแรงดันสูง
2.        อาศัยปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงมีอยู่ 2 แบบ คือแบบกลไก และแบบไฟฟ้า

ระบบเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล
ถังน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง จะมีท่อให้ดูดออกและให้น้ำมันส่วนเกินไหลกลับ
ปั้มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง จะติดอยู่กับเสื้อของปั้มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ปั้มส่งน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังน้ำมันแล้วอัดให้ผ่านหม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านไปยังปั้มฉีดเชื้อเพลิง
หม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิง ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกที่ปนมากับน้ำมันเชื้อเพลิง
ปั้มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดในระบบเชื้อเพลิงเป็นตัวฉีดส่งให้น้ำมันออกไปฉีดที่กระบอกสูบเพื่อการเผาไหม้
หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ทำหน้าที่เป็นตัวทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ฉีดเข้าห้องเผาไหม้มีการกระจายเป็นฝอยอย่างทั่วถึง
จุดมุ่งหมายของระบบเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน ทำหน้าที่จ่ายส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์เพื่อให้เกิดการเผาไหม้และกำลังงาน พร้อมทั้งการปรับส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศให้เหมาะสมกับสภาวะของการทำงาน
จุดมุ่งหมายของระบบเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน ทำหน้าที่จ่ายส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์เพื่อให้เกิดการเผาไหม้และกำลังงาน พร้อมทั้งการปรับส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศให้เหมาะสมกับสภาวะของการทำงาน
กรองอากาศ ทำหน้าที่กรองฝุ่นละอองที่ปะปนอยู่กับอากาศและยังลดเสียงดังของอากาศทีไหลผ่านเข้าคาร์บูเรเตอร์ ช่วยป้องกันเปลวไฟย้อนกลับที่เกิดจากการจุดระเบิดที่ผิดพลาด มีใช้อยู่ 3 แบบ
1. กรองอากาศแบบแห้ง จะทำด้วยกระดาษบรรจุไว้ในหม้อกรองอากาศ จะกรองอนุภาคของฝุ่นละอองโดยจะให้ตกอยู่รอบ ๆ ไส้กรอง ไส้กรองแบบนี้เมื่อเกิดการอุดตันจะสามารถทำการเปลี่ยนใหม่ประมาณ 20,000 กม. หรือเป่าทำความสะอาดทุก ๆ 2,500 กม.
2.กรองอากาศแบบเปียก ไส้กรองจะทำจากเส้นใยโลหะที่สามารถอุ้มซับน้ำมันไว้ได้ ภายในหม้อกรองอากาศด้านล่างจะมีอ่างน้ำมันหล่อลื่น ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่จะถูกกักไว้ที่อ่างน้ำมันส่วนฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กจะถูกกักไว้ที่ไส้กรองที่ถูกชะโลมไว้ด้วยน้ำมัน
3. กรองอากาศแบบไซโคลน ไส้กรองทำด้วยกระดาษภายในไส้กรองจะมีครีบทำให้อากาศที่ไหลเข้าเกิดการหมุนวน ฝุ่นละอองที่มีน้ำหนักมากเมื่อถูกแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางจะตกอยู่ในถังเก็บฝุ่นละอองที่อยู่ด้านล่างของกรองอากาศ ส่วนฝุ่นผงที่อนุภาคที่เล็กจะถูกกรองด้วยไส้กรองอากาศ ทำให้ไส้กรองไม่เกิดการอุดตัน ช่วยลดการบำรุงรักษา

คาร์บูเรเตอร์
ไอดี คืออัตราส่วนผสมระหว่าน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศมีสถานะเป็นก๊าซ
คาร์บูเรเตอร์ มีหน้าที่จัดสรรน้ำมันเชื้อเพลิงให้ผสมกับอากาศเปล่า ๆ เพื่อเป็นไอดีประจุเข้าสู่กระบอกสูบให้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ 
ส่วนประกอบของคาร์บูเรเตอร์เครื่องยนต์เล็ก ประกอบด้วย
1.        ห้องลูกลอย                        2.  ลูกลอย
3.        นมหนูลูกลอย                   4.  นมหนูน้ำมัน
5.  นมหนูอากาศ                    6.  ลิ้นโช๊ค
7.        ลิ้นเร่ง (มีแบบปีกผีเสื้อและแบบลูกเร่ง)

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตะกร้อ ม.3


กติกาเซปักตะกร้อ
ของสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ (ISTAF)

ข้อ 1. สนามแข่งขัน (THE  COURT)
          1.1  สนาม พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตรจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ วัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไม่ควรเป็นหญ้าหรือสนามทราย)
            1.2  เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นที่เป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า  4  เซนติเมตรให้ตีเส้นจากขอบนอกเข้ามาในสนาม และถือเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สนามแข่งขันด้วย เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร
            1.3   เส้นกลาง มีขนาดความกว้างของเส้น 2 เซนติเมตรโดยจะแบ่งพื้นที่ของสนามออกเป็นด้านซ้ายและขวาเท่า ๆ กัน

              1.4  เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลาง ให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นกลาง ตัดกับเส้นขอบนอกของเส้นข้าง เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้าน รัศมี 90 เซนติเมตร ให้ตีเส้นขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตร
            1.5   วงกลมเสิร์ฟ ให้มีรัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากขอบด้านนอกของเส้นหลังเข้าไปในสนามยาว 2.45 เมตร และวัดจากเส้นข้างเข้าไปในสนามยาว 3.05 เมตร ใช้ตรงจุดตัดจากเส้นหลัง และเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง  ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร

ข้อ 2. เสา (THE  POST)
            2.1  เสามีความสูง 1.55 เมตร สำหรับผู้ชาย และ 1.45 เมตร สำหรับผู้หญิง เสาให้ตั้งอยู่อย่างมั่นคงพอที่จะทำให้ตาข่ายตึงได้ โดยเสาต้องทำจากวัตถุที่มีความแข็งแกร่ง และรัศมีไม่เกิน 4 เซนติเมตร
            2.2  ตำแหน่งของเสา ให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเส้นกลางห่างจากเส้นข้าง 30 เซนติเมตร

ข้อ 3. ตาข่าย (THE  NET)
            3.1  ตาข่ายให้ทำด้วยเชือกอย่างดีหรือไนล่อน มีรูตาข่าย กว้าง 6-8 เซนติเมตร   มีความกว้างของผืนตาข่าย 70 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6.10 เมตร ให้มีวัสดุที่ทำเป็นแถบ ขนาดความกว้าง 5 เซนติเมตร ตรงด้านข้างของตาข่ายทั้งสองด้านจากบนถึงล่างตรงกับแนวเส้นข้างซึ่งเรียกว่า "แถบแสดงเขตสนาม"
            3.2  ตาข่ายให้มีแถบหุ้มขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร   ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีลวดหรือเชือกไนล่อนอย่างดีร้อยผ่านแถบ และขึงตาข่ายให้ตึงเสมอระดับหัวเสา    ความสูงของตาข่ายโดยวัดจากพื้นถึงส่วนบนของตาข่ายที่กึ่งกลางสนามมีความสูง 1.52 เมตร สำหรับชาย และสำหรับหญิง 1.42 เมตร และวัดตรงเสาทั้งสองด้าน มีความสูง 1.55 เมตร สำหรับชาย และสำหรับหญิง 1.45 เมตร


ข้อ 4. ลูกตะกร้อ (THE  TAKRAW BALL)
            4.1  ลูกตะกร้อต้องมีลักษณะลูกทรงกลม ทำด้วยใยสังเคราะห์ถักสานชั้นเดียว
            4.2  ลูกตะกร้อที่ไม่ได้เคลือบด้วยยางสังเคราะห์ต้องมีลักษณะดังนี้
                    4.2.1  มี  12  รู
                    4.2.2  มีจุดตัดไขว้  20  จุด
                    4.2.3  มีขนาดเส้นรอบวง 41-43 ซมสำหรับชาย และ 42-44 ซมสำหรับหญิง

                    4.2.4  มีน้ำหนัก 170-180 กรัม สำหรับชาย และ 150-160 กรัม สำหรับหญิง
  
            4.3  ลูกตะกร้ออาจมีสีเดียวหรือหลายสีหรือใช้สีสะท้อนแสง ก็ได้ แต่จะต้องไม่เป็นสีที่เป็นอุปสรรคต่อผู้เล่น (ลดความสามารถของผู้เล่น)
            4.4  ลูกตะกร้ออาจทำด้วยยางสังเคราะห์หรือเคลือบด้วยวัสดุนุ่มที่มีความคงทน เพื่อให้มีความอ่อนนุ่มต่อการกระทบกับผู้เล่น ลักษณะของวัสดุและวิธีการผลิตลูกตะกร้อหรือการเคลือบลูกตะกร้อด้วยยางหรือวัสดุที่อ่อนนุ่มต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ISTAF (สหพันธ์ก่อนการใช้ในการแข่งขัน
            4.5  รายการแข่งขันระดับโลกนานาชาติ และการแข่งขันระดับภูมิภาคที่ได้รับรองจาก  ISTAF รวมทั้งในการแข่งขันโอลิมปิคเกมส์,    เวิลด์เกมส์กีฬาเครือจักรภพเอเชี่ยนเกมส์ และซีเกมส์ ต้องใช้ลูกตะกร้อที่ได้รับการรับรองจาก  ISTAF

ข้อ5. ผู้เล่น (THE  PLAYERS)
            5.1  การแข่งขันมี 2 ทีม ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน
            5.2  ผู้เล่นคนหนึ่งในสามคนจะเป็นผู้เสิร์ฟ และอยู่ด้านหลัง เรียกว่า "ผู้เสิร์ฟ" (SERVER  OR  TEKONG)
            5.3  ผู้เล่นอีกสองคนอยู่ด้านหน้า โดยคนหนึ่งจะอยู่ด้านซ้ายและอีกคนหนึ่งจะอยู่ด้านขวา คนที่อยู่ด้านซ้าย เรียกว่าหน้าซ้าย (LEFT  INSIDE) และคนที่อยู่ด้านขวา เรียกว่า(RIGHT  INSIDE)
            5.4  ประเภททีม
                    5.4.1  แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 9 คน (3 ทีม ผู้เล่น ทีมละ 3 คนและไม่เกิน 15 คน แต่ให้ขึ้นทะ เบียนเพียง 12 คนในการแข่งขัน
                    5.4.2  ก่อนการแข่งขัน แต่ละทีมต้องมีผู้เล่นที่ขึ้นทะเบียนอย่างน้อย 9 คน ในสนามแข่งขัน
                    5.4.3  ทีมใดที่มีผู้เล่นน้อยกว่า 9 คน จะไม่อนุญาตให้เข้าแข่งขัน และถือว่าถูกปรับเป็นแพ้ในการแข่งขัน
            5.5  ประเภททีมเดี่ยว
                    5.5.1  แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 3 คน และไม่เกิน 5 คน (ผู้เล่น 3 คน สำรอง 2 คนผู้เล่นทุกคน ต้องขึ้นทะเบียน
                    5.5.2  ก่อนการแข่งขันแต่ละทีมต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 3 คน พร้อมอยู่ในสนาม
                    5.5.3  ทีมใดมีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน ในสนามแข่งขันจะไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขันและถูกตัดสินเป็นแพ้ในการการแข่งขัน

ข้อ 6. เครื่องแต่งกายของผู้เล่น (PLAYER'S  ATTIRE)
            6.1  อุปกรณ์ที่ผู้เล่นใช้ต้องเหมาะสมกับการเล่นเซปักตะกร้อ อุปกรณ์ใดที่ออกแบบเพื่อเพิ่มหรือลดความเร็วของลูกตะกร้อ เพิ่มความสูงของผู้เล่นหรือการเคลื่อนไหว หรือโดยทำให้ได้เปรียบ หรืออาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้เล่นและคู่แข่งขัน จะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้
            6.2  เพื่อป้องกันการขัดแย้งหรือโต้เถียงกันโดยไม่จำเป็น ทีมที่เข้าแข่งขันต้องใช้เสื้อสีต่างกัน
            6.3  แต่ละทีมต้องมีชุดแข่งขันอย่างน้อย  2 ชุด  เป็นสีอ่อนและสีเข้ม หากทีมที่เข้าแข่งขันใช้เสื้อสีเดียวกัน ทีมเจ้าบ้านต้องเปลี่ยนเสื้อทีม ในกรณีสนามกลางทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมแข่งขันต้องเปลี่ยนสีเสื้อ
            6.4  อุปกรณ์ของผู้เล่นประกอบด้วย เสื้อยืดคอปกหรือไม่มีปก กางเกงขาสั้นถุงเท้า และรองเท้าพื้นยางไม่มีส้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย และเสื้อจะต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขันในกรณีที่อากาศเย็น อนุญาตให้ผู้เล่นสวมชุดวอร์มในการแข่งขัน
            6.5  เสื้อผู้เล่นทุกคนจะต้องติดหมายเลขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และผู้เล่นแต่ละคนต้องใช้หมายเลขประจำนั้นตลอดการแข่งขัน ให้แต่ละทีมใช้หมายเลข 1-15 เท่านั้น สำหรับขนาดของหมายเลข ด้านหลังสูงไม่น้อยกว่า 19 ซมและสูงไม่น้อยกว่า 10 ซมด้านหน้า (ตรงกลางหน้าอก)
            6.6  หัวหน้าทีมต้องสวมปลอกแขนด้านซ้ายของแขน และให้สีต่างจากสีเสื้อของผู้เล่น
            6.7 กรณีที่ไม่ได้ระบุไว้ในกติกานี้ ต้องได้รับการรับรองจากกรรมการเทคนิคของ ISTAF ก่อน

ข้อ 7. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น (SUBSTITUTION)
            7.1  ผู้เล่นคนใดที่ลงแข่งขันในแต่ละทีมหรือได้เปลี่ยนตัวไปแล้ว จะไม่อนุญาตให้ลงแข่งขันในทีมอื่น ๆ อีกสำหรับการแข่งขันประเภททีมชุด เฉพาะครั้งนั้น ๆ
            7.2  การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะกระทำในเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีมยื่นขอต่อกรรมการประจำสนาม (Official Referee)เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น (ลูกตาย)
            7.3  แต่ละทีมเดี่ยว (Regu) อาจมีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 2 คน แต่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้เพียง 1 คน ในการแข่งขันนั้น ๆ
            7.4  แต่ละทีมจะอนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นกรณีบาดเจ็บและไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นมาก่อน แต่ถ้าได้มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไปก่อนแล้ว จะไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัวอีก และถือว่าทีมดังกล่าวแพ้ในการแข่งขัน
            7.5  ทีมใดที่มีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน จะไม่อนุญาตให้แข่งขัน เว้นแต่ผู้เล่นถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน ทีมนั้นสามารถเล่นต่อได้โดยไม่มีการเปลี่ยนตัว

ข้อ 8. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย  (THE  COIN TOSS  AND  WARM  UP)
            8.1  ก่อนเริ่มการแข่งขัน กรรมการผู้ตัดสินกระทำการเสี่ยงโดยใช้เหรียญหรือวัตถุกลมแบน ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้สิทธิ์เลือก "ข้างหรือเลือก "ส่งผู้แพ้การเสี่ยงต้องปฏิบัติตามกติกาการเสี่ยง
            8.2  ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะต้องอบอุ่นร่างกายเป็นระยะเวลา 2 นาที ในสนามแข่งขันก่อนทีมที่แพ้การเสี่ยงด้วยลูกตะกร้อที่ใช้ในการแข่งขัน โดยอนุญาตให้มีบุคคลในสนามเพียงคน

ข้อ 9. ตำแหน่งผู้เล่นในระหว่างการเสิร์ฟ (POSITION  OF  PLAYERS  DURING  SERVICE)
            9.1  เมื่อเริ่มเล่นผู้เล่นทั้งสองทีมต้องยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ในแดนของตนในลักษณะเตรียมพร้อม
            9.2  ผู้เสิร์ฟต้องวางเท้าข้างหนึ่งในวงกลมเสิร์ฟ
            9.3  ผู้เล่นหน้าทั้งสองคนของฝ่ายเสิร์ฟต้องยืนในเสี้ยววงกลมของตนเอง
            9.4  ผู้เล่นของฝ่ายรับ (ฝ่ายตรงข้ามจะยืนอยู่ที่ใดก็ได้ในแดนของตนเอง

ข้อ 10. การเริ่มเล่นและการเสิร์ฟ (THE  START  OF  PLAY  &  SERVICE)
            10.1  ฝ่ายที่เสิร์ฟ จะต้องเริ่มเสิร์ฟในเซ็ทแรก ฝ่ายที่ชนะในเซ็ทแรกจะเป็นผู้เริ่มเสิร์ฟในเซ็ทที่สอง
            10.2  ผู้ส่งลูกจะต้องโดนลูกตะกร้อเมื่อกรรมการตัดสินขานคะแนน   หากผู้เล่นโยนลูกตะกร้อก่อนที่กรรมการผู้ตัดสินขานคะแนน กรรมการต้องตักเตือนและให้เริ่มใหม่ หากกระทำซ้ำดังที่กล่าวอีกจะตัดสินว่า "เสีย"  (Fault)      
            10.3  ระหว่างการเสิร์ฟ ทันทีที่ผู้เสิร์ฟเตะลูกตะกร้ออนุญาตให้ผู้เล่นทุกคนเคลื่อนที่ได้ในแดนของตน
            10.4  การเสิร์ฟที่ถูกต้องเมื่อลูกตะกร้อข้ามตาข่าย    ไม่ว่าลูกตะกร้อจะสัมผัสตาข่ายหรือไม่ และตกลงในแดนหรือขอบเขตของสนามฝ่ายตรงข้าม
            10.5  ในระบบการแข่งขันแบบแพ้คัดออกไม่จำเป็นต้องแข่งขันในทีมที่ 3 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทีมที่ชนะ
            10.6  ในการแข่งขันในระบบแบ่งสายต้องแข่งขันทั้ง 3 ทีม   หากชุดใดไม่มีทีมที่ 3   ต้องตัดสินเป็นยอมให้ชนะผ่าน และทีมที่ชนะผ่านจะได้รับคะแนน 21 คะแนน ในแต่ละเซ็ท

ข้อ 11. การผิดกติกา (FAULTS)
            11.1  ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟระหว่างการเสิร์ฟ
                     11.1.1  ภายหลังจากที่ผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว ผู้เล่นหน้าที่ทำหน้าที่โยนลูกกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดกับลูกตะกร้อ เช่น โยนลูกเล่นเคาะลูกเล่นโยนลูกให้ผู้เล่นหน้าอีกคนหนึ่ง เป็นต้น
                     11.1.2  ผู้เล่นหน้ายกเท้าหรือเหยียบเส้นหรือวางเท้านอกเส้น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายแตะตาข่ายขณะโยนลูกตะกร้อ
                     11.1.3  ผู้เสิร์ฟกระโดดเสิร์ฟในขณะเตะส่งลูก หรือเท้าหลักที่แตะพื้นเหยียบเส้นวงกลมก่อนและระหว่างการส่งลูก
                     11.1.4  ผู้เสิร์ฟไม่ได้เตะลูกที่ผู้โยน โยนไปให้เพื่อการเสิร์ฟ
                     11.1.5  ลูกตะกร้อถูกผู้เล่นคนอื่นภายในทีมก่อนข้ามไปยังพื้นที่ของฝ่ายตรงข้าม
                     11.1.6  ลูกตะกร้อข้ามตาข่ายแต่ตกลงนอกเขตสนาม
                     11.1.7  ลูกตะกร้อไม่ข้ามไปยังฝ่ายตรงข้าม
                     11.1.8  ผู้เล่นใช้มือข้างหนึ่งข้างใดหรือทั้งสองข้าง หรือส่วนอื่นของแขนเพื่อช่วยในการเตะลูก แม้มือหรือแขนไม่ได้แตะลูกตะกร้อโดยตรง แต่แตะหรือสัมผัสสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขณะกระทำดังกล่าว
                     11.1.9  ผู้ส่งลูกโยนลูกตะกร้อก่อนที่กรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนเป็นครั้งที่สอง   หรือกระทำบ่อย ๆ   ในการแข่งขัน
            11.2  ฝ่ายเสิร์ฟและฝ่ายรับในระหว่างการเสิร์ฟ
                     11.2.1  กระทำการในลักษณะทำให้เสียสมาธิ หรือส่งเสียงรบกวน หรือตะโกนไปยังฝ่ายตรงข้าม
            11.3  สำหรับผู้เล่นทั้งสองฝ่ายระหว่างการแข่งขัน
                     11.3.1  เหยียบเส้นแบ่งครึ่งสนาม ยกเว้นการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง  (Follow  Through)  ภายหลังการรุก หรือการป้องกัน
                     11.3.2  ผู้เล่นที่สัมผัสลูกตะกร้อในแดนของฝ่ายตรงข้าม
                     11.3.3  ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายผู้เล่นล้ำไปในแดนของคู่แข่งขันไม่ว่าจะเป็นด้านบน  หรือด้านล่างของตาข่าย ยกเว้นการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง (Follow  Through)
                     11.3.4  เล่นลูกเกิน 3 ครั้งติดต่อกัน
                     11.3.5  ลูกตะกร้อสัมผัสแขน
                     11.3.6  หยุดลูกหรือยึดลูกตะกร้อไว้ใต้แขน หรือระหว่างขาหรือร่างกาย
                     11.3.7  ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายผู้เล่นหรืออุปกรณ์ เช่น รองเท้าเสื้อผ้าพันศีรษะแตะตาข่าย หรือเสาตาข่าย หรือเก้าอี้กรรมการผู้ตัดสิน หรือตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้าม
                     11.3.8  ลูกตะกร้อถูกเพดานหลังคา หรือผนัง หรือวัตถุสิ่งใด
                     11.3.9  ผู้เล่นคนใดที่ใช้อุปกรณ์ภายนอกเพื่อช่วยในการเตะ

ข้อ 12. การนับคะแนน (SCORING SYSTEM)
               12.1  ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟหรือฝ่ายรับทำผิดกติกา (Fault) ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนและจะได้เป็นผู้เสิร์ฟ
               12.2  การชนะในแต่ละเซ็ทต้องได้คะแนน 21 คะแนน   ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 20 : 20 ผู้ชนะต้องได้คะแนนต่างกัน 2 คะแนน และคะแนนสูงสุดไม่เกิน 25 คะแนน     เมื่อคะแนนเท่ากัน 20 : 20      กรรมการผู้ตัดสินต้องขานว่าดิวส์ไม่เกิน 25 คะแนน" (Setting up 25 point)
               12.3  การแข่งขันต้องชนะกัน 2 เซ็ท มีการพักระหว่างเซ็ท 2 นาที
               12.4  ถ้าแต่ละทีมชนะกันทีมละ 1 เซ็ท    ต้องมีการแข่งขันในเซ็ทที่ 3 เรียกว่า ไทเบรก (Tiebreak)  โดยแข่งขัน 15 คะแนน เว้นแต่คะแนนเท่ากันที่ 14 : 14 ผู้ชนะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนน และคะแนนสูงสุดไม่เกิน  17 คะแนน กรรมการผู้ตัดสินต้องขานว่า ดิวส์ไม่เกิน 17 คะแนน" (Setting up 17 point)
              12.5  ก่อนเริ่มการแข่งขันเซ็ทไทเบรก  กรรมการผู้ตัดสินต้องให้มีการเสี่ยงเหรียญ หรือแผ่นกลม และทีมที่ชนะการเสี่ยงต้องเป็นผู้ส่งลูก เมื่อทีมหนึ่งทีมใดทำคะแนนได้ถึง 8คะแนน ต้องมีการเปลี่ยนแดน

ข้อ 13. การขอเวลานอก (TIME – OUT)
              13.1  ในแต่ละเซ็ทถ้าทีมหนึ่งทีมใดทำคะแนนถึง 11 คะแนน   จะได้เวลาพัก 1 นาที      ในระหว่างการแข่งขันเซ็ทไทเบรก หากทีมหนึ่งทีมใดทำคะแนนได้ถึง 8 คะแนน  ก็จะได้พักโดยอัตโนมัติ  ระหว่างเวลาพักจะอนุญาตให้มีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่อยู่ในเส้นหลังเพียง 5 คน
              13.2  ซึ่งตามข้อ 14.1 จะประกอบด้วยผู้เล่น 3 คน และเจ้าหน้าที่ทีม 2 คน

ข้อ 14. การหยุดการแข่งขันชั่วคราว  (TEMPORARY  SUSPENSION  OF  PLAY)
              14.1  กรรมการผู้ตัดสินสามารถหยุดการแข่งขันชั่วคราว  เมื่อผู้เล่นบาดเจ็บและต้องการการปฐมพยาบาล โดยให้เวลาไม่เกิน 5 นาที
              14.2  นักกีฬาที่บาดเจ็บจะได้รับการพักไม่เกิน 5 นาที   หลังจาก 5 นาทีแล้วนักกีฬาไม่สามารถทำการแข่งขันต่อต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น แต่ถ้าทีมที่มีนักกีฬาบาดเจ็บได้มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไปแล้ว   การแข่งขันจะได้รับการประกาศให้ทีมตรงข้ามชนะ

              14.3  ในกรณีที่มีการขัดขวาง รบกวนการแข่งขัน   หรือสาเหตุอื่นใด กรรมการผู้ตัดสินจะเป็นผู้พิจารณาหยุดการแข่งขันชั่วคราว โดยการหารือกับคณะกรรมการจัดการแข่งขัน
              14.4  ในการหยุดการแข่งขันชั่วคราว ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นทุกคนออกจากสนาม  และไม่อนุญาตให้ดื่มน้ำหรือได้รับความช่วยเหลือใด ๆ

ข้อ 15. วินัย (DISCIPLINE)
              15.1  ผู้เล่นทุกคนต้องปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
              15.2  ในระหว่างการแข่งขันเฉพาะหัวหน้าทีมเท่านั้นที่จะเป็นผู้ติดต่อกับกรรมการผู้ตัดสินไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง  หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้เล่นในทีม    หรือเรื่องที่ต้องการซักถามเพื่อขออธิบายในการตัดสินของกรรมการผู้ตัดสิน ซึ่งกรรมการผู้ตัดสินต้องอธิบายหรือชี้แจงตามที่หัวหน้าทีมซักถาม
              15.3  ผู้จัดการทีมผู้ฝึกสอนนักกีฬา  และเจ้าหน้าที่ประจำทีม     จะไม่ได้รับอนุญาตให้ถกเถียงต่อการตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินในระหว่างการแข่งขัน  หรือแสดงปฏิกิริยาที่จะเป็นผลเสียต่อการแข่งขัน หากมีการกระทำดังกล่าวจะถือเป็นการผิดวินัยร้ายแรง

 ข้อ 16. การลงโทษ (PANALTY)
              การทำผิดกติกาและผิดวินัยจะมีการลงโทษดังนี้ :-
              การลงโทษทางวินัย
              16.1 การตักเตือน
                       ผู้เล่นจะถูกตักเตือนและได้รับบัตรเหลืองหากมีความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 6 ประการดังนี้
                       16.1.1  ปฏิบัติตนในลักษณะขาดวินัยและไม่มีน้ำใจนักกีฬา
                       16.1.2  แสดงกิริยาและวาจาไม่สุภาพ
                       16.1.3  ไม่ปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันบ่อย ๆ
                       16.1.4  ถ่วงเวลาการแข่งขัน
                       16.1.5  เข้าหรือออกสนามแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน
                       16.1.6  เจตนาเดินออกจากสนามแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน
              16.2  ความผิดที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน
                        ผู้เล่นกระทำผิดข้อใดข้อหนึ่งในห้าข้อดังกล่าวจะถูกให้ออกจากการแข่งขันและให้บัตรแดง ดังนี้ :-
                       16.2.1  กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง
                       16.2.2  ประพฤติผิดร้ายแรง โดยเจตนาทำให้ฝ่ายตรงข้ามบาดเจ็บ
                       16.2.3  ถ่มน้ำลายใส่ฝ่ายตรงข้ามหรือผู้อื่น
                       16.2.4  ใช้วาจาหรือปฏิกิริยาหยาบคายหรือดูถูกฝ่ายตรงข้าม
                       16.2.5  ได้รับการเตือนและบัตรเหลืองเป็นครั้งที่ 2 ในการแข่งขันนั้น
              16.3  ผู้เล่นที่กระทำผิดถูกตักเตือนด้วยบัตรเหลืองหรือให้ออกจากการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นความผิดทั้งในหรือนอกสนามแข่งขันที่กระทำต่อคู่แข่งขันผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน,กรรมการผู้ตัดสินผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือบุคคลอื่น ๆ ให้พิจารณาโทษวินัย ดังนี้ :-
                       16.3.1  ได้รับบัตรเหลืองใบแรก
                                     โทษ : ตักเตือน
                        16.3.2  ได้รับบัตรเหลืองใบที่สอง ในผู้เล่นคนเดิมในเกมแข่งขันต่างเกม แต่เป็นรายการแข่งขันเดียวกัน
                                      โทษ : พักการแข่งขัน 1 เกม
                        16.3.3  ได้รับบัตรเหลืองใบที่สาม หลังจากพักการแข่งขัน เพราะได้รับบัตรเหลือง 2 ใบ ในรายการแข่งขันเดียวกันและในผู้เล่นคนเดิม
                                     โทษ : พักการแข่งขัน 2 เกม
                                     ปรับเป็นเงิน 100 เหรียญสหรัฐอเมริกา โดยสโมสรหรือบุคคลที่ผู้เล่นสังกัดเป็นผู้รับผิดชอบ
                        16.3.4  ได้รับบัตรเหลือใบทีสี่
                                      ได้รับบัตรเหลืองหลังจากต้องพักการแข่งขัน 2 เกม จากการที่ได้รับบัตรเหลืองใบที่สามในรายการ แข่งขันเดียวกันโดยผู้เล่นคนเดิม
                                       โทษ : ให้พักการแข่งขันในเกมต่อไป และในรายการแข่งขันที่รับรองโดยองค์กรกีฬาตะกร้อ ที่เกี่ยวข้องจนกว่าจะได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการวินัยในเรื่องดังกล่าว
                        16.3.5  ได้รับบัตรเหลือง 2 ใบ ในผู้เล่นคนเดียวกันและในเกมแข่งขันเดียวกัน
                                       โทษ : พักการแข่งขัน 2 เกม
                                       ปรับเป็นเงิน 100 เหรียญสหรัฐอเมริกา โดยสโมสรหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบได้รับบัตรแดงในกรณีทำผิดวินัย หรือกระทำผิดกติกาในการแข่งขันในเกมอื่น ซึ่งอยู่ในรายการ  แข่งขันเดียวกัน
              16.4  ผู้เล่นที่กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะกระทำในสนามหรือนอกสนามแข่งขัน ซึ่งกระทำผิดต่อฝ่ายตรงข้ามเพื่อนร่วมทีมกรรมการผู้ตัดสินผู้ช่วยผู้ตัดสินหรือบุคคลอื่น โดยได้รับบัตรแดงจะได้รับพิจารณาโทษดังนี้
                        16.4.1  ได้รับบัตรแดง
                                     โทษ : ให้ไล่ออกจากการแข่งขันและพักการแข่งขันในทุกรายการแข่งขันที่รับรองจากองค์กรที่กำกับดูแลกีฬาเซปักตะกร้อ  จนกว่าคณะกรรมการวินัยจะมีการประชุม  และพิจารณาในเรื่องดังกล่าว

 ข้อ 17. ความผิดของเจ้าหน้าที่ทีม (MISCONDUCT  OF  TEAM  OFFICIALS)
              17.1  กฎระเบียบด้านวินัย จะใช้กับเจ้าหน้าที่ประจำทีม ในกรณีที่ทำผิดวินัย หรือรบกวนการแข่งขัน ทั้งภายในและภายนอกสนาม

              17.2  เจ้าหน้าที่ประจำทีม ผู้ใดประพฤติไม่สมควรหรือกระทำการรบกวนการแข่งขัน จะถูกเชิญออกจากบริเวณสนามแข่งขัน โดยเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน หรือกรรมการผู้ตัดสิน และจะถูกพักการปฏิบัติหน้าที่ภายในทีมจนกว่าคณะกรรมการวินัยจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาตัดสินปัญหาดังกล่าว

ข้อ 18. บททั่วไป (GENERAL)
              18.1 ในการแข่งขันหากมีปัญหาหรือเรื่องราวใด ๆ เกิดขึ้นซึ่งไม่ได้กำหนดหรือระบุไว้ในกติกาการแข่งขัน ให้ถือการตัดสินของกรรมการ      ผู้ตัดสินเป็นที่สิ้นสุด.

กติกานี้ได้รับความเห็นชอบจากการประชุมของสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ
(ISTAF) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย