วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

วงจรไฟฟ้า ม.4


วงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย  ประกอบด้วย  แหล่งกำเนิดไฟฟ้า  ตัวนำไฟฟ้า  และอุปกรณ์/เครื่องใช้ไฟฟ้า   การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายที่ถูกวิธี  ทำให้หลอดไฟฟ้าสว่าง  แต่ถ้าต่อวงจรไฟฟ้าไม่ถูกวิธี  หลอดไฟฟ้าจะไม่สว่าง
                วงจรปิด  คือ วงจรไฟฟ้าที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านครบวงจร


                                        
                วงจรเปิด คือ วงจรไฟฟ้าที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน  กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไม่ครบวงจร


                                               
                ตัวนำไฟฟ้า คือ  สารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย  ส่วนมากเป็นโลหะ  เช่น  เงิน  ทองแดง  เป็นต้น  
                ฉนวนไฟฟ้า คือ  สารที่ไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน  เช่น  ยาง  ผ้า  กระเบื้อง  พลาสติก เป็นต้น   
                แอมมิเตอร์ เป็น เครื่องมือสำเร็จรูปในการวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร  มีหน่วยเป็น  แอมแปร์ (A)  หรือ มิลลิแอมแปร์ (mA) 
            การต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
                1. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม เป็นการนำเซลล์ไฟฟ้ามาต่อในวงจรไฟฟ้าโดยให้ขั้วบวกของก้อนแรกต่อเข้ากับขั้วลบของก้อนที่ 2 เรียงกันไป

                2. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนาน เป็นการนำเซลล์ไฟฟ้ามาวางขนานกัน โดยขั้วบวกแต่ละก้อนต่อเข้าด้วยกันและขั้วลบแต่ละก้อนต่อเข้าด้วยกันแล้วจึงต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า
            3. วงจรผสมหมายถึง การนำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาต่อวงจรไฟฟ้าโดยการต่อรวมกันระหว่างวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมกับวงจรไฟฟ้าแบบขนาน

หน่วยวัดทางไฟฟ้า
1. แรงดันไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลต์ (Volt)ใช้ตัวย่อว่า V แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ หมายถึง แรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลผ่านเข้าไปในความต้านทาน 1 โอห์ม 
2. กระแสไฟฟ้า เราทราบแล้วว่าการไหลของอิเล็กตรอนในตัวนำไฟฟ้านั้นเรียกว่า กระแสไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ ใช้ตัวย่อ ว่า (A) กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์คือกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าสองตัวที่วางขนาดกันมีระยะห่างกัน 1 เมตร แล้ว ทำให้เกิดแรงแต่ละตัวนำเท่ากับ 
คำอธิบาย: http://www.elecnet.chandra.ac.th/learn/courses/ELTC1203/electricbasic/unit21.jpg นิวตันต่อเมตร 
3. ความต้านทานไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึง การต้านทานการไหลของไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยวัดเป็นโอห์ม ใช้ตัวย่อว่า 
คำอธิบาย: http://www.elecnet.chandra.ac.th/learn/courses/ELTC1203/electricbasic/ohms.jpgความ ต้านทานไฟฟ้า 1 โอห์ม คือ ความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ที่ไหล ผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วทำให้เกิดกำลังไฟฟ้า 1 วัตต์ 
4. กำลังไฟฟ้า / POWER / พาวเวอร์ P คือ แรง ดันไฟฟ้า X กระแสไฟฟ้า P = E (V) X I(A) มีหน่วยเป็นวัตต์ (W)

กำลังไฟฟ้านำไปใช้งานลักษณะ

1. เป็นความต้องการทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ที่ทำงานได้ เช่น หลอดไฟฟ้า ขนาด 3V / 2A แสดงว่าหลอดไฟฟ้านี้ต้องการกำลังไฟฟ้าคือ 3V x 2A = 6 W (วัตต์)
2.เป็นอัตราการทนแรงดันไฟและค่ากระแสไฟฟ้าของอุปกรณ์ เช่น ตัวต้านทานมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 0.5 A และเกิดแรงดันไฟฟ้าตกคร่อม 4 V  แสดงว่าเกิดกำลังไฟฟ้าขึ้นคือ 4V x 0.5 A =2W (วัตต์)
3. เป็นอัตราการขยายแรงดันและกระแสไฟฟ้าของเครื่องขยายเสียง เช่น เครื่อง ขยายขนาด 50W, 100W, 200W


ระบบหล่อลื่น ม.6/2


ระบบหล่อลื่น
(Lubricating System)
หน้าที่ของระบบหล่อลื่น
หน้าที่ในการหล่อลื่น
หน้าที่ในการระบายความร้อน
หน้าที่ในการป้องกันสนิมและกัดกร่อน
หน้าที่ในการป้องกันการรั่วของกำลังอัด
หน้าที่ในการรักษาความสะอาด
การทำงานของระบบหล่อลื่น
- หล่อลื่นแบบวิดสาด (Splash system) เป็นการหล่อลื่นเครื่องยนต์ในอดีต โดยที่ฝาครอบแบริ่งก้านสูบจะมีช้อน (dipper) ติดอยู่ ช้อนจะทำหน้าที่วิดน้ำมันเครื่อง ปัจจุบันใช้ในเครื่องยนต์ขนาดเล็ก
- หล่อลื่นแบบใช้กำลังดัน (Pressure system) โดยปั้มน้ำมันเครื่อง (oil pump) จ่ายแรงดันให้น้ำมันส่งผ่านไปตามท่อทางเดิน
- หล่อลื่นแบบผสมวิดสาดและกำลังดัน (Combination splash and pressure system) ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เพราะอุปกรณ์สลับซับซ้อนมาก

ระบบหล่อลื่นจะสามารถทำงานได้อย่างดีเยี่ยม และมีประสิทธิภาพนั้น ย่อมประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ หลายส่วนด้วยกัน ดังนี้
1. อ่างน้ำมันเครื่อง (Oil Pan) ทำหน้าที่ ในการเก็บน้ำมันหล่อลื่น โดยทั่วไปอ่างน้ำมันเครื่องอยู่ส่วนล่างสุดของเครื่องยนต์
2. ปั้มน้ำมันหล่อลื่น (Oil Pump)ทำหน้าที่ ดูดและส่งน้ำมันหล่อลื่นไปยังส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ ปั้มน้ำมันจะถูกขับโดยกำลังของเครื่องยนต์
3. ท่อส่งน้ำมัน ปกติระบบท่อส่งน้ำมันเพื่อไปหล่อลื่นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ จะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ โดยการเจาะเป็นรูสำหรับให้น้ำมันส่งไปได้
4. กรองน้ำมันหล่อลื่น (Oil Filter) ทำหน้าที่ในการดักเศษ ต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำงานของเครื่องยนต์ เพื่อทำให้น้ำมันก่อนถูกส่งไปหล่อลื่นมีความสะอาด

ระบบระบายความร้อน ม.6/2


ระบบระบายความร้อน
(Cooling System)
ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์มีไว้เพื่อรักษาอุณหภูมิของเครื่องยนต์ไว้ที่ อุณหภูมิทำงานเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถทำงานได้ตลอดเวลาต่อเนื่องขณะเกิดการเผาไหม้ภายในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ความร้อนจะกระจายไปยังชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ ฉะนั้นจำเป็นจะต้องระบายความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นให้มีอุณหภูมิลดลงและรักษาอุณหภูมินั้นไม่ให้ร้อนเกิดไปและต่ำเกิดไปเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้มีประสิทธิภาพและต่อเนื่องตลอดเวลาของการทำงาน
ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์เล็กแบ่งเป็น    3   ระบบ
1.    ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
           ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศแบบนี้มักจะใช้กับเครื่องยนต์เบนซินซึ่งตัวของเครื่องยนต์จะออกแบบเป็นครีบระบายความร้อนเพื่อให้อากาศเกิดการหมุนวนภายในครีบระบายความร้อนและพัดพาความร้อนออกไปได้มากที่สุดฉะนั้นระบบนี้จะต้องประกอบด้วยอุปกรณ์เช่น พัดลมเป็นตัวผลิตกระแสลมให้เกิดขึ้น    กระบังลมเป็นตัวที่รวบรวมกระแสลมไม่ให้กระจายไปทิศทางอื่นซึ่งต้องบังคับให้ไหลไปยังครีบระบายความร้อนให้มาก


2.    ระบบระบายความร้อนแบบหม้อน้ำ
           ระบบระบายความร้อนแบบหม้อน้ำส่วนมากมักนิยมใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลระบบจะมีส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้ เช่น  หม้อน้ำเป็นตัวเก็บรวบรวมน้ำไว้เพื่อระบายความร้อนซึ่งถูกออกแบบคล้ายกับรังผึ้งเพื่อให้น้ำระบายความร้อนออกมาได้มากที่สุดขณะพัดลมเป่าทำงาน  

3.    ระบบระบายความร้อนแบบอ่างน้ำ
            ระบบระบายความร้อนแบบอ่างน้ำส่วนมากมักนิยมใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลระบบจะมีส่วนประกอบเช่น อ่างน้ำซึ่งเป็นสิ่งสำคัญถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงสามารถเก็บน้ำเพื่อระบายความร้อนของเครื่องยนต์

ช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็ก ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ม.6/2


ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
Fuel System
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นระบบที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันเข้าสู่เครื่องยนต์ ประกอบด้วย
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (gasoline fuel system) เป็นระบบการป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนซึ่งประกอบด้วย
- ถังน้ำมัน (fuel tank)
- ปั้มน้ำมัน (fuel pump)
- กรองน้ำมันเชื้อเพลิง
- ท่อทาง
- คาร์บูเรเตอร์ ( carburetor) หรือหัวฉีด(injector) ถ้าเป็นระบบหัวฉีด
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล (diesel fuel system) เป็นระบบน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลซึ่งประกอบด้วย
- ถังน้ำมัน
- ปั้มน้ำมัน
- กรองน้ำมัน
- ปั้มหัวฉีด หรือปั๊มแรงดันสูง
- หัวฉีด
น้ำมันเบนซิน เมื่อผ่านกระบวนการกลั่นจะต้องปรับปรุงให้มีคุณภาพป้องกันการน๊อคด้วยการผ่านกระบวนการแปรรูปน้ำมัน ซึ่งเรียนว่า ค่าออกเทน ( octane number) เป็นคุณภาพของน้ำมันเบนซินในการต่อต้านการน็อคจากการลุกไหม้ขึ้นเองของน้ำมันเบนซิน ออกเทนที่มีค่าสูง ๆ นั้น ยิ่งค่าสูงเท่าไหร่การเผาไหม้กลับยิ่งช้าลงเท่านั้น
น้ำมันดีเซล หมายถึงน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลบางคนเรียกว่าน้ำมันโซล่า ในวงการน้ำมันเรียกว่า แก๊สออยล์ (Gas oil) การต้านทานการน็อค ตัวควบคุมการน็อคเครื่องยนต์ดีเซลได้แก่ ซีเทนนัมเบอร์ (CN) น้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีซีเทนนัมเบอร์สูงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการน็อค
การจ่ายน้ำมันจากถังน้ำมันเชื้อเพลิงให้เข้าสู่ระบบโดยอาศัย 2 วิธี คือ
1.        อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก โดยจะวางถังน้ำมันอยู่ระดับคาร์บูเรเตอร์หรือปั๊มแรงดันสูง
2.        อาศัยปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงมีอยู่ 2 แบบ คือแบบกลไก และแบบไฟฟ้า

ระบบเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล
ถังน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง จะมีท่อให้ดูดออกและให้น้ำมันส่วนเกินไหลกลับ
ปั้มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง จะติดอยู่กับเสื้อของปั้มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ปั้มส่งน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังน้ำมันแล้วอัดให้ผ่านหม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านไปยังปั้มฉีดเชื้อเพลิง
หม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิง ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกที่ปนมากับน้ำมันเชื้อเพลิง
ปั้มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดในระบบเชื้อเพลิงเป็นตัวฉีดส่งให้น้ำมันออกไปฉีดที่กระบอกสูบเพื่อการเผาไหม้
หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ทำหน้าที่เป็นตัวทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ฉีดเข้าห้องเผาไหม้มีการกระจายเป็นฝอยอย่างทั่วถึง
จุดมุ่งหมายของระบบเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน ทำหน้าที่จ่ายส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์เพื่อให้เกิดการเผาไหม้และกำลังงาน พร้อมทั้งการปรับส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศให้เหมาะสมกับสภาวะของการทำงาน
จุดมุ่งหมายของระบบเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน ทำหน้าที่จ่ายส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์เพื่อให้เกิดการเผาไหม้และกำลังงาน พร้อมทั้งการปรับส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศให้เหมาะสมกับสภาวะของการทำงาน
กรองอากาศ ทำหน้าที่กรองฝุ่นละอองที่ปะปนอยู่กับอากาศและยังลดเสียงดังของอากาศทีไหลผ่านเข้าคาร์บูเรเตอร์ ช่วยป้องกันเปลวไฟย้อนกลับที่เกิดจากการจุดระเบิดที่ผิดพลาด มีใช้อยู่ 3 แบบ
1. กรองอากาศแบบแห้ง จะทำด้วยกระดาษบรรจุไว้ในหม้อกรองอากาศ จะกรองอนุภาคของฝุ่นละอองโดยจะให้ตกอยู่รอบ ๆ ไส้กรอง ไส้กรองแบบนี้เมื่อเกิดการอุดตันจะสามารถทำการเปลี่ยนใหม่ประมาณ 20,000 กม. หรือเป่าทำความสะอาดทุก ๆ 2,500 กม.
2.กรองอากาศแบบเปียก ไส้กรองจะทำจากเส้นใยโลหะที่สามารถอุ้มซับน้ำมันไว้ได้ ภายในหม้อกรองอากาศด้านล่างจะมีอ่างน้ำมันหล่อลื่น ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่จะถูกกักไว้ที่อ่างน้ำมันส่วนฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กจะถูกกักไว้ที่ไส้กรองที่ถูกชะโลมไว้ด้วยน้ำมัน
3. กรองอากาศแบบไซโคลน ไส้กรองทำด้วยกระดาษภายในไส้กรองจะมีครีบทำให้อากาศที่ไหลเข้าเกิดการหมุนวน ฝุ่นละอองที่มีน้ำหนักมากเมื่อถูกแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางจะตกอยู่ในถังเก็บฝุ่นละอองที่อยู่ด้านล่างของกรองอากาศ ส่วนฝุ่นผงที่อนุภาคที่เล็กจะถูกกรองด้วยไส้กรองอากาศ ทำให้ไส้กรองไม่เกิดการอุดตัน ช่วยลดการบำรุงรักษา

คาร์บูเรเตอร์
ไอดี คืออัตราส่วนผสมระหว่าน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศมีสถานะเป็นก๊าซ
คาร์บูเรเตอร์ มีหน้าที่จัดสรรน้ำมันเชื้อเพลิงให้ผสมกับอากาศเปล่า ๆ เพื่อเป็นไอดีประจุเข้าสู่กระบอกสูบให้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ 
ส่วนประกอบของคาร์บูเรเตอร์เครื่องยนต์เล็ก ประกอบด้วย
1.        ห้องลูกลอย                        2.  ลูกลอย
3.        นมหนูลูกลอย                   4.  นมหนูน้ำมัน
5.  นมหนูอากาศ                    6.  ลิ้นโช๊ค
7.        ลิ้นเร่ง (มีแบบปีกผีเสื้อและแบบลูกเร่ง)