วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ


ให้นักเรียนเติมข้อความให้สมบูรณ์ (สืบค้นจากเอกสารใบความรู้หรืออินเตอร์เน็ตได้)

1. ช่าง  หมายถึง..............................................................................................................................
........................................................................................................................................................
2. ลักษณะของงานช่าง   สามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
          2.1.....................................................................................................................................
          2.2.....................................................................................................................................  
          2.3.....................................................................................................................................     
          2.4.....................................................................................................................................
3. ประโยชน์ของงานช่างพื้นฐาน
3.1 ประโยชน์โดยตรง ได้แก่................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
3.2 ประโยชน์โดยอ้อม ได้แก่................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
4. ทักษะกระบวนการทำงานช่าง 4 ขั้นตอนมีดังนี้
          4.1…………………………………………………………………………………………………
          4.2…………………………………………………………………………………………………
          4.3…………………………………………………………………………………………………
          4.4…………………………………………………………………………………………………
5. วัสดุช่างแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
          5.1.....................................................................................................................................
          6.2.....................................................................................................................................
6. โลหะ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
          6.1.....................................................................................................................................
          6.2.....................................................................................................................................



ชื่อ.................................................................ห้อง.............
วันที่.............เดือน........................................พ.ศ...............
 

เครื่องมืองานช่าง


เครื่องมืองานช่าง
          เครื่องมืองานช่าง  หมายถึง  สิ่งที่ใช้งานการซ่อม สร้าง และดัดแปลงเกี่ยวกับงานช่าง
          เครื่องมือช่างเป็นสิ่งจำเป็นสำหรบช่างทุกคน  ดังนั้นก่อนช่างจะทำงานต้องศึกษาเกี่ยวกับชื่อ ประเภท วิธีการใช้  การจัดเก็บ  การบำรุงรักษา  เพื่อให้สามารถเลือกใช้  บำรุงรักษา  ใช้งานได้ถูกต้อง คงทนและปลอดภัย
          ประเภทของเครื่องมืองานช่าง   แบ่งตาลักษณะของการใช้งาน ดังนี้
1.      เครื่องมือวัด  (Measuring  Tool)  เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดขนาด เช่น  กว้าง  ยาว  หนา  ได้แก่
1.1    บรรทัดเหล็ก  (Steel  Ruler)  ส่วนใหญ่จะมีขนาดตั้งแต่  12  นิ้ว  ถึง  36  นิ้ว
1.2    ตลับเมตร  (Measuring  Tape)  สามารถวัดได้ทั้งเป็นนิ้วและเป็นเซนติเมตร
2.   เครื่องมือตอก  (Hammers)   เป็นเครื่องมือที่ใช้ตอก  ทุบ  ได้แก่
2.1    ค้อนหัวกลม  (Ball  Peen  Hammer)  ใช้กับงานโลหะและสามารถย้ำหมุดได้
2.2    ค้อนหัวแบนและหัวมน  (Cross -  Peen  Straight  Hammer)  ทางด้านหัวค้อนใช้ในการดัดโลหะ
2.3    ค้อนไม้และค้อนพลาสติก  (Wood  and  Plastic - tip  Hammer)   ใช้สำหรบทุหรือตอกงานเบาๆ  เพื่อมิให้เกิดรอยบุบหรือรอยขีดข่วน
2.4    ค้อนหงอน  (Curve - Claw  Hammer)  ใช้ทุบ  ตอก  ถอนตะปูงานไม้
3.   เครื่องมือตัด   (Cutting  Tools)  ใช้ในการตัดชิ้นงานให้แยกออกจากกัน  ได้แก่
     3.1  เลื่อยตัดเหล็ก  (Hack  Saw)   ใช้กันมากในงานโลหะ
3.2    เลื่อยที่ใช้สำรับงานไม้  ได้แก่
3.2.1        เลื่อยลันดา  (Hand  Saw)  มี  ชนิดคือ เลื่อยโกรกและเลื่อยตัด
3.2.2        เลื่อยฉลุ  (Coping  Saw)  ใช้เลื่อยส่วนโค้งต่างๆ 
4.   เครื่องมือไขและขัน  (Drivers  Tools)   ใช้ไขหรือขันสกรูหรือนอต  จำแนกได้  ชนิดคือ
     4.1   ไขควง  (Screwdrivers)   ใช้ขันสกรูหรือตะปูเกลียว  มีทั้งแบบแฉก  แบน  แบบออฟเซต  แบบบล็อก
     4.2   ประแจ  (Wrenches)   ใช้หัวนอตที่มีเหลี่ยม  มีหลายแบบ เช่น
          4.2.1   ประแจปากตาย  (Open  Wrenches) 
          4.2.2   ประแจแหวน  ( Ring  Spanner  Wrenches)
          4.2.3   ประแจบล็อก  (Socket  Wrenches)
          4.2.4   ประแจเลื่อน  (Adjustable  Wrenches)
5.   เครื่องมือเจาะ   (Drilling  Tools)  ใช้สำหรับเจาะชิ้นงานทั้งไม้และโลหะ  ได้แก่
     5.1   สว่าน  (Drills)   มีหลายแบบ  เช่น
5.1.1        สว่านข้อเสือ  (Bit  Brace)
5.1.2        สว่านเฟืองหรือสว่านจาน  (Hand  Drill)
5.1.3        สว่านอัตโนมัติ  (Automatic  Drill) 
     5.2   สิ่ว  (Chisels)   ใช้สำหรับงานไม้  ได้แก่ สิ่วปากบาง  สิ่วเจาะ  สิ่วเล็บมือ

6.   เครื่องมือจับยึด  (Clamping Device  or  Fixtures)  ใช้สำหรับจับ  ยึด  บีบ  ดัดและตัดชิ้นงาน  ได้แก่
6.1      ปากกาจับชิ้นงาน  (Clamp) 
6.2      ปากการูปตัวซี   ( C- Clamp)
6.3      ปากกาจับไม้  (Bar  or  Pipe  Clamp)
6.4      ปากกาจับท่อ  (Pipe  Wrench)
6.5      คีม   (Pliers)  ใช้ตัด  จับ  บีบ  มีหลายแบบ
7.   เครื่องมือไสและตกแต่ง   (Planing  and  Filling  Tools)  ใช้สำหรับลดขนาด  ตกแต่งผิวหน้าของชิ้นงาน  ได้แก่
     7.1   กบ   (Plane)  ได้แก่  กบล้างยาว  กบล้างกลาง  กบล้างสั้น  กบผิว
     7.2   ตะไบ  (Files)   ได้แก่  ตะไบแบน  ตะไบเหลี่ยมจัตุรัส  ตะไบกลม  ตะไบสามเหลี่ยม ตะไบครึ่งวงกลมหรือตะไบท้องปลิง  ตะไบที่ใช้งานไม้หรือบุ้ง
          สรุป   การทำงานช่างแต่ละประเภทจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของประเภท  หลักการ  วิธีใช้  การเก็บรักษา  การบำรุงรักษาเครื่องมือแต่ละชนิด  ซึ่งเครื่องมืองานช่างแต่ละสาขามีขนาด  ลักษณะรูปร่างที่ต่างกันออกไป  บางอย่างสามารถใช้แทนกันได้  แต่บางอย่างใช้แทนไม่ได้อาจทำให้เกิดอันตราย  เครื่องมือทำให้ช่างสามารถทำงานเลือกใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
          สาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายในการปฏิบัติงานอาจสรุปอย่างกว้างๆ  ได้  ประการ  คือ
          1.  เกิดจากบุคคล  ได้แก่   การแต่งกายไม่รัดกุม  สุขภาพไม่ดี    ความประมาท  ขาดความรู้ประสบการณ์
          2.  เกิดจากเครื่องมืออุปกรณ์  และวัสดุชนิดต่างๆ  ได้แก่  เครื่องมือชำรุด  ใช้เครื่องมือผิดประเภท  เก็บไม่เป็นระเบียบ  ใช้ผิดวิธี 
          3.  เกิดจากสภาพแวดล้อม     ได้แก่    สถานที่ปฏิบัติงานไม่เหมาะสม  ไม่สะอาด  ไม่เป็นระเบียบ  เกะกะ  คับแคบ  แสงสว่างไม่เพียงพอ
          4.  เกิดจากการจัดระบบงาน  ได้แก่  การวางแผนการทำงานไม่ดี  ไม่รอบคอบ  ทำงานผิดขั้นตอน

แนวทางการปฏิบัติงานเพื่อรักษาความปลอดภัย
1.      ควรตรวจตรวจสอบเครื่องมือก่อนใช้งาน
2.      ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย เช่น  แว่นตา  ถุงมือ  เป็นต้น
3.      ควรใช้เครื่องมือจับยึดชิ้นงานขณะเจาะหรือตัด
4.      ควรตัดกระแสไฟฟ้าก่อน  หากปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
5.      ใช้เครื่องมืออย่างระมัดระวัง
6.      ศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือ  หรือเครื่องจักรก่อนทำงาน
7.      ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องจักรในขณะที่กำลังเดินเครื่องอยู่
8.      ก่อนและหลังการปฏิบัติงานควรตรวจสอบความเรียบร้อยของบริเวณทำงานทุกครั้ง
9.      ควรเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
10.  ช่างทุกคนพึงระลึกเสมอว่า  การทำงาน " ต้องปลอดภัยไว้ก่อน "

วัสดุช่าง


วัสดุอุปกรณ์งานช่าง
1. ความหมายของวัสดุอุปกรณ์งานช่าง
          วัสดุงานช่าง หมายถึงวัสดุที่ใช้ในการปฏิบัติงานและเป็นวัสดุที่ช่วยในการปฏิบัติงาน
          วัสดุอุปกรณ์ หมายถึง สิ่งที่นำมาประกอบเป็นชิ้นงานเพื่อการปฏิบัติงาน หรือสิ่งที่ช่วยให้ชิ้นงานนั้นเกิดผลสำเร็จ
2. ความสำคัญของวัสดุอุปกรณ์งานช่าง
          วัสดุอุปกรณ์งานช่างมีความสำคัญต่องานช่างสาขาต่างๆ ทุกแขนง เนื่องจากช่างเป็นผู้มีหน้าที่สร้าง ผลิตชิ้นงาน ซ่อมแซม บำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ผู้ใช้งานจะต้องทำความเข้าใจและศึกษาเกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์งานช่างให้ถูกต้องและเหมาะสมกับชนิดของงาน

ประเภทของวัสดุอุปกรณ์งานช่าง  แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้




                                          
คุณสมบัติสำคัญของโลหะ มีดังนี้
1.      เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี
2.      มีความคงทนถาวรตามสภาพ
3.      มีความเหนียวและความแข็งแรง
4.      มีผิวมันแวววาว สะท้อนแสงได้ดี
5.      มีการขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
6.      เป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ ยกเว้นปรอท
7.      เมื่อเคาะมีเสียงดังกังวาน
8.      มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าวัสดุชนิดอื่น
9.      มีความคงทนถาวร ไม่ผุพังหรือเสื่อมสลายได้ง่าย

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานช่าง



ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานช่าง

ความหมายและความสำคัญ
          ช่าง  หมายถึง  ผู้ชำนาญในการฝีมือ หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง
          งานช่าง  หมายถึง  การทำงานของช่าง หรือสิ่งที่เกิดจากการทำงานของช่าง  ผู้ที่เป็นช่างมักมีคำต่อท้าย  เพื่อบอกประเภทหรือสาขาของงานที่ทำ  เช่น  ช่างไฟฟ้า  ช่างไม้  ช่างปูน ช่างเขียนแบบ ช่างยนต์ ช่างเสริมสวย
          งานช่าง  หมายถึง  การนำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  วิธีการทำงาน  ตลอดจนกระบวนการทางเทคโนโลยี  สิ่งแวดล้อมมาใช้ในการบำรุงรักษา  ซ่อมแซม  ติดตั้งเครื่องมือ เครื่องใช้ อย่างเป็นระบบ
          งานช่างพื้นฐาน  หมายถึง  งานช่างเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเอง  ส่วนใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมสิ่งของเครื่องใช้ที่ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน  หรือลงทุนสูง
ประโยชน์ของงานช่างพื้นฐาน
          ประโยชน์โดยตรง  ได้แก่  การประหยัดค่าใช้จ่าย  ประหยัดเวลา  ควบคุมดูแลการทำงานได้ เลือกใช้เครื่องมือได้ถูกประเภทและปลอดภัย ซ่อมแซมได้ด้วยตนเอง ยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือ เครื่องใช้
          ประโยชน์โดยอ้อม  ได้แก่  การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์   เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน   เกิดความรู้ความชำนาญ เป็นพื้นฐานและแนวทางศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพ เสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้แก่ตนเอง รู้จักวิธีการทำงานที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ทำให้ชีวิตสมดุลเนื่องจากช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทำให้เกิดความสมดุลด้านร่างกายและจิตใจ
ลักษณะของงานช่าง   สามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.      งานบำรุงรักษา   เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการ  วิธีการทำงาน  วิธีการบำรุงรักษา  เพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านสามารถใช้งานได้ถูกต้อง  ปลอดภัย  และมีอายุการใช้งานยาวนาน
2.      งานซ่อมแซม/การดัดแปลง   เป็นการนำความรู้  ทักษะต่างๆ  มาใช้เพื่อตรวจสอบหรือซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านที่ชำรุดให้สามารถใช้งานต่อไปได้
3.      งานติดตั้ง/การประกอบ  เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้  ความชำนาญและทักษะต่างๆ  เพื่อติดตั้งเครื่องใช้  อุปกรณ์ต่างๆ  ในบ้านให้สามารถใช้งานได้ถูกต้องและปลอดภัย
4.      งานผลิต   เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์  วางแผน  ออกแบบและผลิตชิ้นงาน  และวิธีการทำงาน  เพื่อวางแผนปฏิบัติงานให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน


 หลักการทำงานช่าง
1.      มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ที่จำเป็นในบ้าน
2.      มีความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้  และอุปกรณ์ในบ้าน
3.      มีความรู้เกี่ยวกับหลักการของวัสดุ
4.      มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี  ทรัพยากร  พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
5.      มีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ อ่านแบบ วิเคราะห์  วางแผน บำรุงรักษา  ติดตั้ง
6.      มีทักษะการคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ
7.      มีความขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ ประหยัด

กระบวนการทำงานช่าง
1.      ศึกษาคู่มือการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้ และอ่านแบบ
2.      ศึกษาหลักความปลอดภัย ทรัพยากร  วัสดุอุปกรณ์อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและเพื่อนร่วมงาน
3.      อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
4.      คำนวณค่าใช้จ่าย เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะจะทำให้รู้ค่าใช้จ่ายในการทำงาน
5.      วางแผนปฏิบัติงาน คือการกำหนดขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนงานสำเร็จ
6.      เลือกใช้เทคโนโลยี เพื่อความสะดวก รวดเร็ว
7.      เลือกเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์
8.      ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้
9.      ตรวจสอบความเรียบร้อย
10.  แก้ไขและปรับปรุง
11.  จัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ
ส่วนกระบวนการทำงานผลิตมีส่วนเพิ่มเติม ดังนี้
1.      ศึกษาความต้องการและความเป็นไปได้
2.      ออกแบบ เขียนแบบ
3.      ตรวจสอบคุณภาพ
4.      การจัดการผลผลิตและบรรจุภัณฑ์

ทักษะกระบวนการทำงานช่าง
          ทักษะกระบวนการทำงาน หมายถึง การลงมือทำงานด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นการฝึกวิธีการอย่างสม่ำเสมองานช่างทุกประเภทมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1.      การวิเคราะห์งาน  คือการแจกแจงงานที่ทำว่าเป็นงานประเภทใด ลักษณะใด อุปกรณ์ เครื่องมือใด
2.      การวางแผนในการทำงาน
3.      การปฏิบัติงาน
4.      การประเมินผลงาน
ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
          หมายถึง การทำงานเป็นกลุ่ม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ทำงานมีขั้นตอน มีหลักสำคัญดังนี้
1.      รู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม
2.      มีทักษะในการฟัง พูด  แสดงความคิดเห็นและอภิปราย
3.      มีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน เช่น รับผิดชอบ ขยัน อดทน ซื่อสัตย์
4.      สรุปผลโดยการจัดทำรายงาน
5.      นำเสนอรายงาน
กระบวนการในการทำงานกลุ่ม
1.      เลือกหัวหน้ากลุ่ม มีการหมุนเวียนในการทำงานแต่ละครั้ง
2.      กำหนดเป้าหมายของงานว่าคืออะไร อยู่ที่ใด
3.      วางแผนการทำงาน เช่นจำอะไรบ้าง ทำอะไรก่อนหลัง จะทำงานอย่างไร
4.      แบ่งงานตามความสามารถและความถนัด
5.      ลงมือปฏิบัติงานตามบทบาท หน้าที่ และขั้นตอนที่วางไว้
6.      ประเมินผลและปรับปรุงงาน
ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
มีขั้นตอนดังนี้
1.      สังเกต ต้องศึกษาข้อมูล รับรู้ ทำความเข้าใจ
2.      วิเคราะห์ จัดลำดับข้อมูล หาความสำคัญและสาเหตุของปัญหา เลือกแก้ปัญหาที่สำคัญและเหมาะสม
3.      สร้างทางเลือก แสวงหาทางเลือกอย่างหลากหลาย
4.      ประเมินทางเลือก ตรวจสอบความถูกต้อง
หลักการจัดการงานช่าง
          การจัดการ  หมายถึง ความพยายามของบุคคลที่จะจัดระบบงาน (ทำงานเดี่ยว) และจัดระบบคน (ทำงานกลุ่มเพื่อให้การทำงานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ การจัดการเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตแต่ละครอบครัว เพราะหากมีการจัดการที่ดีก็จะทำให้ครอบครัวมีแต่ความสุข  จะช่วยให้การดำเนินชีวิตและครอบครัวมีการวางแผน
          กระบวนการจัดการงานช่าง   กระบวนการจัดการงานช่างมีขั้นตอนดังนี้
1.      การวางแผนการดำเนินงาน
2.      การแบ่งงาน
3.      การบริหารงานบุคคล
4.      การบริหารงานเงินและวัสดุ
5.      การผลิต
6.      การจัดจำหน่ายและบริการ
7.      การแก้ไขข้อบกพร่อง
การประเมินผลการทำงานงานช่าง   มีหลักการประเมินดังนี้
1.      การประเมินก่อนการดำเนินงาน  เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจในการทำงานแต่ละขั้นตอน ว่ามีความเหมาะสม เพียงพอหรือไม่
2.      การประเมินระหว่างการดำเนินงาน  เป็นการประเมินกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบทุกขั้นตอน  เป็นการประเมินตามสภาพจริงของการทำงาน  โดยการสังเกต  สอบถามหรือสัมภาษณ์
3.      การประเมินหลังการดำเนินงาน  เป็นการประเมินความสำเร็จของการวางแผนการทำงานหรือผลงานว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์เพียงใด  เป็นการประเมินผลตามสภาพจริง  ตั้งแต่การวางแผน  การทำงาน กระบวนการกลุ่ม ผลงาน ความสำเร็จ ความประทับใจในผลงาน   นอกจากนี้ยังต้องประเมินคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการทำงานช่างได้แก่
-          ความรับผิดชอบ  ความซื่อสัตย์  ความขยัน  ความอดทน  รักการทำงาน
-          ความประหยัด  อดออม  ตรงเวลา
-          ความเอื้อเฟื้อ ความเสียสละ  ความมีวินัยในการทำงาน