วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

วงจรไฟฟ้า ม.4


วงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย  ประกอบด้วย  แหล่งกำเนิดไฟฟ้า  ตัวนำไฟฟ้า  และอุปกรณ์/เครื่องใช้ไฟฟ้า   การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายที่ถูกวิธี  ทำให้หลอดไฟฟ้าสว่าง  แต่ถ้าต่อวงจรไฟฟ้าไม่ถูกวิธี  หลอดไฟฟ้าจะไม่สว่าง
                วงจรปิด  คือ วงจรไฟฟ้าที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านครบวงจร


                                        
                วงจรเปิด คือ วงจรไฟฟ้าที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน  กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไม่ครบวงจร


                                               
                ตัวนำไฟฟ้า คือ  สารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย  ส่วนมากเป็นโลหะ  เช่น  เงิน  ทองแดง  เป็นต้น  
                ฉนวนไฟฟ้า คือ  สารที่ไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน  เช่น  ยาง  ผ้า  กระเบื้อง  พลาสติก เป็นต้น   
                แอมมิเตอร์ เป็น เครื่องมือสำเร็จรูปในการวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร  มีหน่วยเป็น  แอมแปร์ (A)  หรือ มิลลิแอมแปร์ (mA) 
            การต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
                1. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม เป็นการนำเซลล์ไฟฟ้ามาต่อในวงจรไฟฟ้าโดยให้ขั้วบวกของก้อนแรกต่อเข้ากับขั้วลบของก้อนที่ 2 เรียงกันไป

                2. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนาน เป็นการนำเซลล์ไฟฟ้ามาวางขนานกัน โดยขั้วบวกแต่ละก้อนต่อเข้าด้วยกันและขั้วลบแต่ละก้อนต่อเข้าด้วยกันแล้วจึงต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า
            3. วงจรผสมหมายถึง การนำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาต่อวงจรไฟฟ้าโดยการต่อรวมกันระหว่างวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมกับวงจรไฟฟ้าแบบขนาน

หน่วยวัดทางไฟฟ้า
1. แรงดันไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลต์ (Volt)ใช้ตัวย่อว่า V แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ หมายถึง แรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลผ่านเข้าไปในความต้านทาน 1 โอห์ม 
2. กระแสไฟฟ้า เราทราบแล้วว่าการไหลของอิเล็กตรอนในตัวนำไฟฟ้านั้นเรียกว่า กระแสไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ ใช้ตัวย่อ ว่า (A) กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์คือกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าสองตัวที่วางขนาดกันมีระยะห่างกัน 1 เมตร แล้ว ทำให้เกิดแรงแต่ละตัวนำเท่ากับ 
คำอธิบาย: http://www.elecnet.chandra.ac.th/learn/courses/ELTC1203/electricbasic/unit21.jpg นิวตันต่อเมตร 
3. ความต้านทานไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึง การต้านทานการไหลของไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยวัดเป็นโอห์ม ใช้ตัวย่อว่า 
คำอธิบาย: http://www.elecnet.chandra.ac.th/learn/courses/ELTC1203/electricbasic/ohms.jpgความ ต้านทานไฟฟ้า 1 โอห์ม คือ ความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ที่ไหล ผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วทำให้เกิดกำลังไฟฟ้า 1 วัตต์ 
4. กำลังไฟฟ้า / POWER / พาวเวอร์ P คือ แรง ดันไฟฟ้า X กระแสไฟฟ้า P = E (V) X I(A) มีหน่วยเป็นวัตต์ (W)

กำลังไฟฟ้านำไปใช้งานลักษณะ

1. เป็นความต้องการทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ที่ทำงานได้ เช่น หลอดไฟฟ้า ขนาด 3V / 2A แสดงว่าหลอดไฟฟ้านี้ต้องการกำลังไฟฟ้าคือ 3V x 2A = 6 W (วัตต์)
2.เป็นอัตราการทนแรงดันไฟและค่ากระแสไฟฟ้าของอุปกรณ์ เช่น ตัวต้านทานมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 0.5 A และเกิดแรงดันไฟฟ้าตกคร่อม 4 V  แสดงว่าเกิดกำลังไฟฟ้าขึ้นคือ 4V x 0.5 A =2W (วัตต์)
3. เป็นอัตราการขยายแรงดันและกระแสไฟฟ้าของเครื่องขยายเสียง เช่น เครื่อง ขยายขนาด 50W, 100W, 200W


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น